คอนโดใหม่ทำเลที่ใกล้กับที่ทำงานและการคมนาคมที่สะดวกอาทิ
รถไฟฟ้า รถใต้ดิน
ใกล้สถาบันเทิงอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปรารถนา
ใกล้ศูนย์การค้า แหล่งช็อปปิ้ง โรงภาพยนตร์
การได้เห็นทิวทัศน์จากอาคารสูง
มีการรักษาความปลอดภัย ลิฟท์ที่ล๊อคสำหรับผู้พักอาศัยแยกโซน ไม่ปะปนกัน เป็นต้น
ข้อดีของบ้านเดี่ยวชานเมือง
บ้านเดี่ยวจะมีขนาดใหญ่ มีรั้วรอบขอบชิด มีพื้นที่ใช้สอยที่มากกว่าคอนโด
มีบริเวณที่ปลูกต้นไม้ สนามหญ้า มีจำนวนห้องต่างๆ
มากกว่า คอนโดที่พื้นที่จำกัดลง
ค่าใช้จ่ายบางอย่างจะถูกกว่า
เช่น การเสียค่าสาธารณูปโภคโดยตรงกับการประปา
ค่าใช้จ่ายแฝงของทั้งบ้านเดี่ยวชานเมือง
ค่าใช้จ่ายแฝง
1. เงินค่ามัดจำก่อน
การทำสัญญา และ เงินที่วางในช่วงทำสัญญา
เงินค่ามัดจำอาจจะอยู่ที่ 10,000-50,000 บาท และจะหักออกจากราคาบ้านเมื่อเซ็นสัญญาซื้อขาย
2. ค่าใช้จ่ายในวันทำสัญญา
โดยส่วนใหญ่แล้วค่าใช้จ่ายตรงนี้จะอยู่ที่หลักแสนขึ้นไป
หลังจากนั้นก็เป็นขั้นตอนการจ่ายเงินดาวน์และผ่อนชำระค่าบ้านเป็นงวดๆ ตามปกติ
3. ค่าธรรมเนียมที่เกิดจากการซื้อบ้าน
ค่าธรรมเนียมในส่วนนี้เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเมื่อมีการซื้อบ้าน
โดยไปดำเนินเรื่องและชำระค่าใช้จ่ายที่ "กรมที่ดิน" โดยมี
2 ค่าใช้จ่ายหลักๆ คือ
ค่าโอนกรรมสิทธิ์ 2% ของราคาประเมิน
ซึ่งอาจจะออกกันคนละครึ่งระหว่างผู้ซื้อ-ผู้ขาย
หรือบางครั้งผู้ขายอาจจะยินดีออกค่าใช้จ่ายส่วนนี้ให้หมด แล้วแต่จะตกลงกัน (17/11/2558 : รัฐบาลได้ออกนโยบายกระตุ้นภาคอสังหาฯ
ลดค่าธรรมเนียมการโอนเหลือเพียง 0.01% ของราคาประเมิน
มีผลบังคับใช้ถึง 30 เมษายน 2559) ในกรณีที่ผู้ซื้อมีการยื่นขอสินเชื่อ
ยังต้องมีการจ่ายค่าจดจำนองอีก 1% ของวงเงินกู้ (17/11/2558 : รัฐบาลได้ออกนโยบายกระตุ้นภาคอสังหาฯ
ลดค่าจดจำนองเหลือเพียง 0.01% ของวงเงินกู้ มีผลบังคับใช้ถึง 30 เมษายน
2559)
4. ดอกเบี้ยจ่ายธนาคาร
นอกจากราคาบ้านที่เราต้องจ่ายแล้ว
ผู้ที่กู้เงินจากธนาคารยังต้องเสียดอกเบี้ยจ่ายเมื่อมีการผ่อนชำระ
อย่าลืมที่จะคำนึงถึงดอกเบี้ยด้วยทุกครั้งที่จะคำนวณค่าใช้จ่าย
5. ค่าส่วนกลางซึ่งจะรวมในการว่าจ้างนิติบุคคล
ส่วนพื้นที่บริการ เช่นสระว่ายน้ำ ฟิตเนส สวนหย่อม ไฟฟ้าส่องสว่าง คอนโดมิเนียมจะอยู่ที่ประมาณ 30-50 บาท/ตร.ม./เดือน กรณีบ้านเดี่ยวจะอยู่ที่ประมาณ 30-40 บาท/ตร.วา/เดือน แต่บางโครงการบ้านเดี่ยวที่เป็นแบบหรูหราอาจจะขึ้นไปถึง
60-120 บาท/ตร.ม./เดือน
6. เจ้าของห้องชุดหรือคอนโดอาจจะเสียค่าไฟฟ้าโดยตรงกับการไฟฟ้าและเสียค่าน้ำตามอัตราตามตกลงกับทางโครงการ
บางโครงการอาจเรียกเก็บ 20-35
บาท ต่อหน่วย เนื่องจากต้องคำนวณค่าใช้จ่าย
ค่าไฟฟ้าสำหรับปั้มน้ำสำหรับอาคารสูงเป็นต้น
และเนื่องจากปริมาณน้ำที่มากก็จะเสียในอัตราที่แพงกว่าน้ำประปาที่ใช้กันตามบ้าน
7. ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการขอสินเชื่อ
เมื่อต้องมีการขอสินเชื่อจากธนาคาร นอกจากดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายให้กับธนาคารแล้ว
ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีก คือ
ค่าธรรมเนียมในการประเมินราคาทรัพย์ ค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงินกู้
เบี้ยประกันอัคคีภัย ค่าเบี้ยปรับกรณีปิดภาระหนี้ภายใน 3 ปี
คิด 3% ของยอดหนี้คงค้าง ค่าใช้จ่ายต่างๆ นี้
สามารถตกลงกันได้ว่าใครเป็นฝ่ายออก หรือ จะออกกันคนละครึ่งตามตกลงกัน
เพื่อความสบายใจ บางรายที่ตั้งราคาขายกำไรมาแล้ว ก็อาจจะบอกว่า
ยินดีจ่ายให้ทั้งหมด ทั้งนี้ต้องทำให้ชัดเจน
8. ค่าประกันมิเตอร์น้ำ-ไฟ
กรณีที่เป็นโครงการใหม่ รับโอนมาจากผู้ประกอบการโดยตรง
จะมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งน้ำ-ไฟที่ทางโครงการชำระให้ล่วงหน้าแล้ว
และได้มาเรียกเก็บกับผู้ซื้อในภายหลังตามอัตราที่การประปา-การไฟฟ้ากำหนด
เพื่อจะได้ไม่ต้องมาทะเลาะกันภายหลังเมื่อมีการโอนมอบกรรมสิทธิ์ไปแล้ว
ทางที่ดีให้ทางเจ้าของจัดการให้เรียบร้อยเสียก่อน
9. ค่าตกแต่งซ่อมแซม
หากซื้อบ้านมือสองหรือบ้านใหม่ที่ไม่ได้รับการตกแต่ง
ผู้ซื้อจะต้องตกแต่งบ้านเพื่อให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะบ้านมือสองที่อาจจะต้องมีการซ่อมแซมบางส่วนให้สามารถใช้การได้
10. ค่าเฟอร์นิเจอร์
นอกจากจะต้องตกแต่งซ่อมแซมแล้ว จุดสำคัญขององค์ประกอบในบ้านคือเฟอร์นิเจอร์
หลายคนมักพลาดที่จะลืมกันเงินส่วนหนึ่งเพื่อซื้อเฟอร์นิเจอร์
ทำให้ยังไม่สามารถเข้าอยู่ได้ในทันที รวมทั้งองค์ประกอบสำคัญอาทิ
น้ำไฟ ท่อประปาใช้ได้ทันทีหรือไม่
11. ค่าใช้จ่ายในการขนย้าย
สิ่งสุดท้ายของค่าใช้จ่ายในการซื้อบ้าน
คือเมื่อต้องย้ายจากบ้านหลังเก่าเข้ามาหลังใหม่
ย่อมมีค่าใช้จ่ายในเรื่องการขนย้ายที่ไม่ว่าจะย้ายเองหรือจ้างบริษัทขนย้ายก็ตาม
ดังนั้นอย่าลืมที่จะเผื่อค่าใช้จ่ายในตอนสุดท้ายที่จะต้องจ่ายในตอนย้ายบ้านด้วย ยิ่งต้องย้ายมาจากต่างจังหวัดหรือการขนย้ายของบางอย่างก็ต้องดูว่าจะนำมาในห้องชุดหรือบ้านได้แค่ไหน
กล่าวโดยสรุปแล้ว
ในมุมมองของแต่ละคนคงจะไม่เหมือนกันอันเนื่องจากปัจจัยที่แตกต่างกันไป ในเมื่อราคาเท่ากันแต่คอนโด
อาจจะมีค่าส่วนกลาง ที่แพงกว่า หรือบ้านจัดสรรที่หรูหราก็จะมีราคาไม่ต่างกัน
หากเมื่อชั่งน้ำหน้กดูว่าตรงไหนลงตัวกับรูปแบบการใช้ชีวิตและค่าใช้จ่ายแฝงอื่นๆ
ในชีวิตประจำวัน ในระยะยาว ผู้ซื้อก็คงจะมองออกว่า
สิ่งใดเป็นสิ่งที่พวกเขาต้องการมากที่สุดในระยะสั้น หรือ ระยะยาว