Living Estate

Living Estate รับทำ Feasibility โครงการอสังหาฯ

Living Estate

อสังหาริมทรัพย์และการตลาด

Living Estate

Real Estate Development Analysis

วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เลือกทิศทางบ้านอย่างไรให้รับลม

                         
                       หากเราต้องการที่จะจัดฮวงจุ้ยของที่พักอาศัยให้ได้ผลนั้น สิ่งสำคัญในลำดับแรกคือการทำอย่างไรให้บ้านของเราสามารถรับกระแสพลังงานจากลมธรรมชาติได้ดีที่สุด เพราะ “ฮวง” นั้นหมายถึงลม และ “จุ้ย” นั้นหมายถึงน้ำ ซึ่งนักปราชญ์จีนได้กล่าวไว้ว่า “พลังงานนั้นมากับลมและสะสมตัวที่น้ำ” ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างบ้านเพื่อให้สามารถรับกับกระแสลมจากธรรมชาติได้ เรียกว่าหาก ‘กระแสลม” ไม่เข้าบ้านแล้วก็ถือว่าโอกาสที่ฮวงจุ้ยจะไม่ดีนั้นสูงมาก โดยหากบ้านของเราไม่สามารถรับกระแสลมจากธรรมชาติได้ เราจึงค่อยสร้างกระแสเทียมหรือกระแสประดิษฐ์ เช่น น้ำพุ , น้ำตก , โอ่งน้ำล้น , ตู้ปลา หรือพัดลม จะเห็นว่าหากเราสามารถจัดชัยภูมิหรือเลือกทิศทางของบ้านได้ดีให้สามารถรับกระแสลมจากธรรมชาติได้ จะทำให้มีโอกาสได้ที่พักอาศัยที่มีฮวงจุ้ยที่ดีได้โดยไม่จำเป็นต้องสร้างกระแสเทียมแม้แต่น้อย



                         หลักการง่ายๆ ของการเกิดลมนั้นได้แก่ความแตกต่างของอุณหภูมิอากาศ โดยอากาศที่มีอุณหภูมิสูงจะมีความหนาแน่นน้อยกว่าอากาศที่มีอุณหภูมิต่ำ อากาศที่ร้อนกว่าจะลอยตัวขึ้นสูง และอากาศที่เย็นกว่าจะเคลื่อนที่มาแทนในแนวระนาบ ดังนั้นทุกครั้งที่เราโดยลทพัดผ่านเราจึงรู้สึกเย็นสบาย และการที่แกนโลกเอียง 23 องศาทำมุมกับดวงอาทิตย์ เมื่อโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์จึงทำให้เกิดฤดูกาลต่างๆ กับไปในรอบหนึ่งปี โดยการเกิดฤดูกาลนี้เองทำให้เกิดกระแสลมหลักๆ 2 ทิศทางในประเทศไทย ดังนี้

                       1.ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นลมที่พัดผ่านประเทศไทยในฤดูหนาวประมาณเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ ของทุกปี โดยเป็นช่วงที่โลกโคจรเอาแกนที่เอียงออกจากดวงอาทิตย์ ทำให้ส่วนพื้นผิวของโลกที่เป็นมหาสมุทรได้รับแสงอาทิตย์มากกว่าส่วนที่เป็นทวีป เมื่ออากาศบริเวณมหาสมุทรได้รับแสงอาทิตย์มากกว่าส่วนที่เป็นพื้นทวีป เมื่ออากาศบริเวณมหาสมุทรที่ส่วนใหญ่อยู่ในทิศตะวันตกเฉียงใต้ร้อนและลอยตัวสูงขึ้น จึงทำให้อากาศที่เย็นจากพื้นทวีปโดยเฉพาะจากประเทศจีน หรือทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่านเข้ามา เราจึงเรียกกระแสลมดังกล่าวว่าลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือโดยกระแสลมจะพัดผ่านค่อนมาทางทิศเหนือเป็นหลัก



                       2.ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เป็นลมที่พัดผ่านประเทศไทยในฤดูร้อนและฤดูฝนประมาณ เดือนมีนาคม-ตุลาคม ของทุกปี โดยเป็นช่วงที่โลกโคจรเอาแกนที่เอียงเข้าหาดวงอาทิตย์ ทำให้ส่วนของโลกที่เป็นพื้นทวีปได้รับแสงอาทิตย์มากกว่าส่วนที่เป็นมหาสมุทร เมื่ออากาศบริเวณพื้นทวีปที่ส่วนใหญ่อยู่ในทิศตะวันออกเฉียงเหนือร้อนและลอยตัวสูงขึ้น จึงทำให้อากาศที่เย็นกว่าจากมหาสมุทรโดยเฉพาะจากมหาสมุทรอินเดียพัดเข้ามาแทนที่เราจึงเรียกกระแสลมดังกล่าวว่าลมมรสุมตะวันตกเฉีนงใต้ โดยกระแสลมจะพัดผ่านมาค่อนมาทางทิศใต้เป็นหลัก

                      ดังนั้นหากเราต้องการจะให้บ้านนั้นเย็นสบายมีกระแสลมไหลเวียนเข้าบ้านอยู่ตลอดเวลา ซินแสหรืออาจารย์ฮวงจุ้ยก็จะเน้นให้สร้างบ้านหรืออาคารในแนวหันทิศเหนือหรือหันทิศใต้เป็นหลัก เพราะจะทำให้บ้านสามารถรับกับกระแสลมที่พัดผ่านเข้ามาได้เต็มที่ โดยถ้าบ้านหันหน้าไปทางทิศใต้ก็จะได้รับลมเป็นเวลามากกว่า เพราะลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้นั้นพัดผ่านกินเวลา 8 ใน 12 เดือน แต่หากสร้างบ้านหันหน้าไปทางทิศเหนือก็จะได้รับลมเป็นเวลาน้อยกว่าบ้านที่หันทางทิศใต้ เพราะลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือนั้นพัดผ่านกินเวลา 4 ใน 12 เดือน



                     การที่บ้านหันไปทางทิศเหนือนั้นเองก็จะมีข้อดีชดเชยคือแดดจะไม่ค่อยเข้าที่หน้าบ้าน เพราะในประเทศที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ซึ่งประเทศไทยเราเองก็เป็นหนึ่งในนั้น โดยส่วนใหญ่เกือบทั้งปีแสงแดดจะอ้อมทิศใต้ ดังนั้นหากท่านต้องการเน้นลมผ่านเยอะๆ เกือนตลอดปี และส่วนตัวชอบแสงแดดก็สามารถเลือกบ้านที่หันไปทางทิศใต้ได้ แต่หากท่านยอมรับลมน้อยลงไปหน่อยแต่เน้นว่าแสงแดดไม่ค่อยเข้าที่หน้าบ้านก็สามารถเลือกบ้านที่หันหน้าไปทางทิศเหนือใต้

                    แต่สิ่งที่จะลืมไม่ได้คือเรื่องของการออกแบบบ้านเพราะการที่กระแสลมจะเข้าบ้านได้นั้นจะต้องมี “ช่อง” ให้ลมเข้า และยังไม่พอต้องมี “ช่อง” ให้ลมออกด้วย ซึ่งช่องเหล่านั้นก็คือหน้าต่างและประตู ดังนั้นบ้านที่จะมีกระแสลมผ่านเข้าได้อย่างทั่วถึงก็ควรจะมีช่องประตู และหน้าต่างในปริมาณที่เหมาะสมด้วย จึงทำให้กระแสลม กระแสอากาศไหลเวียนถ่ายเทได้ดี คำถามคืออย่างไรจึงเรียกได้ว่าบ้านหลังนี้ลมเข้าคำตอบคือซินแสจะลองยืนที่ปากประตูทางเข้าตัวบ้านของท่าน หากรู้สึกว่าลมพัดผ่าน ยืนแล้วเย็นสบาย ไม่อึดอัดนั่นก็ถือว่าใช้ได้ หรืออีกวิธีหนึ่งเราก็สามารถสังเกตได้ง่ายๆ ว่าบ้านที่มีประตูหน้าต่างเพียงพอ ในตอนกลางวันนั้นแสงธรรมชาติจะเข้าบ้านได้มากจนสว่างเพียงพอที่จะใช้ชีวิตได้โดยไม่ต้องเปิดไฟเพิ่มเติม



                    โดยควรระวังในการออกแบบประตูหน้าต่างของบ้านที่บางครั้งออกแบบให้มีมากเกินไป หากประตูหน้าบ้านตรงกับประตูหลังบ้านพอดี แม้ว่ากระแสลมจะเข้าไปมากอย่างรวดเร็ว แต่กลับจะออกไปรวดเร็วด้วย ในบางครั้งซินแสฮวงจุ้ยเรียกเป็น “บ้านที่เก็บโชคไม่อยู่” ดังนั้นต้องระวังการที่ออกแบบประตูหน้าบ้านให้ตรงกับประตูหลังบ้าน แต่หากบ้านของท่านมีลักษณะนั้นไปแล้ว ก็หาอุปกรณ์หรือเฟอร์นิเจอร์หนักๆ ใหญ่ๆ มาวางกดพื้นที่ก่อนถึงประตูหลังบ้านไว้ก็ช่วยในการปรับแก้ฮวงจุ้ยได้ หรือหากเป็นห้องนอน การออกแบบหน้าต่างให้ตรงกับศีรษะพอดีก็ถือว่าไม่เหมาะสม เพราะหากลมหรือแสงเข้าที่ศีรษะในเวลานอนก็อ่านว่าจะเป็นการรบกวนการนอน การแก้ไขก็ให้ท่านใช้ม่านทึบแสงในการปิดหน้าต่างที่ศีรษะในเวลานอนได้



                     อย่างไรก็ตามความรู้ดังกล่าวยังถือว่าเป็นเพียงความรู้เบื้องต้นเท่านั้น เพราะในทิศหลัก 4 ทิศ คือ ใต้ , ออก , เหนือ และตกนั้น ในศาสตร์ฮวงจุ้ยชั้นสูงได้แบ่งออกเป็น 24 ทิศทางย่อย และในทุก 4 ทิศทางหลักจะมีทั้งทิศดีและทิศไม่ดีปะปนกันไป จึงไม่ได้แปลว่าบ้านหันหน้าทิศใต้หรือหันทิศเหนือแล้วจะดีเสมอไป เราจึงจำเป็นต้องได้รับคำปรึกษาจากซินแสที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการพิจารณาฮวงจุ้ยแบบละเอียดครับ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก ธ.กสิกรไทย

วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สิ่งที่ควรรู้ก่อนต่อเติมบ้านจัดสรร หรือทาวน์เฮ้าส์

สิ่งที่ควรรู้ก่อนต่อเติมบ้านจัดสรร หรือทาวน์เฮ้าส์


1.สิ่งที่ควรรู้ก่อนต่อเติมบ้าน คอนโด ทาวน์เฮาส์ บ้านเดี่ยว

1.1 ประเด็นด้านกฏหมายในการต่อเติมบ้านใหม่

             การต่อเติมหรือดัดแปลงอาคาร ตามรายละเอียดต่อไปนี้ จำเป็นต้องได้รับการอนุญาตจกาทางราชการ

-การขยายพื้นที่ชั้นหนึ่งชั้นใด ตั้งแต่ 5 ตร.ม.

-เปลี่ยนหลังคา หรือขยายหลังคาให้ปกคลุมเนื้อที่มากขึ้นกว่าเดิม

-เพิ่ม-ลด จำนวน หรือ เปลี่ยนเสา คาร บันได และผนัง

อาคารจะต้องมีระยะถอยร่นจากแนวเขตที่ดิน ดังนี้

-สำหรับทาวน์เฮาส์และตึกแถว พื้นที่ว่างด้านหลังกว้าง 2 ม. จะต้องเว้นว่างไว้เพื่อเป็นทางหนีไฟ

-ผนังด้านที่เปิดประตู หน้างต่าง ที่สูงไม่เกิด 9 ม. ต้องอยู่ห่างจากเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 2.0 ม. สำหรับ ที่สูงเกิน 9.0 ม. ต้องห่าง 3.0 ม. ผนังที่ไม่มีช่องเปิดต้องห่างจากเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 0.50 ม. ยกเว้น แต่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของที่ดินข้างเคียง

จะเห็นได้ว่าตามกฏหมายนั้น ทาวน์เฮาส์ และตึกแถวแทบจะไม่สามารถต่อเติมใด ๆ ได้ตามกฏหมาย ยกเว้น แต่มีพื้นที่เหลือด้านหลังมาก ๆ แต่อย่างไรก็ตามหากต้องการต่อเติมอย่างถูกต้องก็ต้องมีการ ยื่นขออนุญาตก่อสร้างด้วย แต่ที่เห็นว่ามีการก่อสร้างต่อเติมอยู่ทั่วไปก็เพราะทางราชการอนุโลมให้ หากไม่มีปัญหาใด ๆ กับบ้านข้างเคียง



1.2 ประเด็นความขัดแย้งกับบ้านข้างเคียง

             จากประเด็นที่ 1 จะเห็นได้ว่าการที่จะสามารถต่อเติมได้อย่างไม่มีปัญหานั้น จำเป็นจะต้องมีการ พูดคุยกับบ้านข้างเคียงก่อนว่าจะมีการต่อเติมบ้าน เพราะหากบ้านข้างเคียงไม่ยินยอม และไป ร้องเรียนกับทางราชการก็จะมีปัญหาตามมาค่อนข้างมาก แต่หากบ้านใดมีพื้นที่มากพอจนสามารถยื่นขออนุญาตก่อสร้างได้ เจ้าของบ้านก็ยังคงต้อง รับผิดชอบต่อความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการก่อสร้างต่อบ้านข้างเคียงด้วย เช่น แรงสั่นสะเทือนจากการตอกเสาเข็ม การเคลื่อนตัวจากการขุดดิน ปัญหาเสียง หรือ ฝุ่นผง ซึ่งหากมีปัญหาจนบ้านข้างเคียงรับไม่ได้ อาจเกิดการฟ้องร้อง ให้หยุดการสร้าง และ สามารถเรียกร้องค่าใช้จ่ายในกรณีที่เกิดความเสียหาย

1.3การต่อเติมบ้าน คอนโด ทาวน์เฮาส์ บ้านเดี่ยว

              เป็นงานที่ต้องอาศัยวิศวกรเป็นผู้ออกแบบงานส่วนต่อเติมให้ เนื่องจากพื้นที่ส่วนที่ต่อเติมมักเป็นพื้นที่จำกัด และต้องคำนึงถึง สภาพปัจจุบันของอาคาร ตลอดจนสภาพพื้นที่ส่วนที่จะต้องการ ต่อเติม ซึ่งมีข้อจำกัดในการทำงาน การเลือกใช้ระบบของเสาเข็ม การขนย้ายวัสดุก่อนสร้าง ตลอดจนการแก้ไขปัญหาน้ำรั่วบริเวณ รอยต่อของอาคารเดิมและส่วนต่อเติม

2 ข้อแนะนำในการต่อเติมบ้าน คอนโด ทาวน์เฮาส์ 

2.1.รูปแบบทางสถาปัตยกรรม

              โดยทั่วไปการออกแบบบ้าน ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงการระบายอากาศ แสงสว่าง ตลอดจน ความปลอดภัยเมื่อเกิดปัญหาเพลิงไหม้ แต่เมื่อมีการต่อเติมพื้นที่ใช้สอยอาคารแล้ว สิ่งที่ เจ้าของบ้านมักจะมองข้ามสิ่งเหล่านี้ไป มักจะมองเฉพาะต้องการพื้นที่ใช้งานสูงสุด โดยเฉพาะ ทาว์เฮาส์ที่มีพื้นที่ด้านหลังชิดกับบ้านข้างเคียงทั้ง 3 ด้าน เมื่อต่อเติมแล้วมีปัญหาว่าร้อน ลมไม่พัดเข้าบ้าน ภายในบ้านมืด ต้องติดตั้งระบบปรับอาการศ และต้องเปิดไฟตลอดทั้งวัน รูปแบบที่แนะนำสำหรับการต่อเติมพื้นที่หลังบ้านก็คือ พยายามให้เปิดช่องระบายอากาศ โดย ให้อากาศสามารถถ่ายเทจากหน้าบ้านมาออกที่ช่องที่เปิดไว้ในส่วนหลังบ้าน หากมีพื้นที่จำกัด ให้ออกแบบหลังคาเป็น 2 ชั้น เพื่อเป็นช่องระบายอากาศ หรือหากมีพื้นที่หลังบ้านกว้างพอ ก็ให้เปิดเป็นพื้นที่่ว่างโดยไม่มีผนัง เพื่อให้สามารถใช้เป็นพื้นที่ซักล้างให้แห้ง และลมสามารถ เข้าถึงได้ ก็จะทำให้ภายในบ้านไม่มีปัญหาอับลมและมีตลอดเวลาได้



2.2 รูปแบบทางด้านโครงสร้างบ้าน คอนโด ทาวน์เฮาส์ บ้านเดี่ยว บ้านใหม่

             หลักการในการต่อเติมจะต้องแยกโครงสร้างส่วนต่อเติมใหม่ให้เป็นโครงสร้างต่างหาก ที่สามารถอยู่ได้โดยตัวเอง การแยกโครงสร้างจะต้องให้แยกขาดจริง ๆ โดยต้องเว้นให้เกิดช่องว่าง ระหว่างอาคาร ถ้ามีพื้นที่พอ แต่ถ้าไม่มีก็ให้กั้นด้วยโฟม เพื่อไม่ให้มีการเชื่อมต่อของโครงสร้างเดิม กับโครงสร้างใหม่ ซึ่งรวมถึงห้ามเชื่อมต่อวัสดุปูผิว และผนังก็ควรเว้นช่องไว้ แล้วอุดด้วยวัสดุยาแนว ประเภท โพลียูรีเทน เพื่อป้องกันปัญหาน้ำรั่วซึม ส่วนหลังคาก้ให้ทำปีกนอกยึดติดกับตัวอาคารเดิม ยื่นมาคลุมอาคารที่ต่อเติม เพื่อป้องกันน้ำรั่วบริเวณรอยต่อ


3 ปัญหาการต่อเติมบ้านผิดวิธี



3.1 ทำให้อาคารทรุดตัวไม่เท่ากัน

3.2 ทำให้อาคารฉีกขาดจากโครงสร้างที่เชื่อมกัน

4 หลักการต่อเติมบ้านอย่างถูกวิธีต่อเติมบ้านอย่างถูกวิธี

4.1 โครงสร้างอาคารส่วนต่อเติม

-ต้องแยกจากอาคารเดิม (บ้านของโครงการ) ต้องแยกจากรั้วรอบด้าน โดยเด็ดขาด เพื่อหลีกเลี่ยง ความเสียหายที่เกิดจากการทรุดตัวต่างระดับระหว่างอาคารเดิมกับอาคารส่วนต่อเติม

4.2 ลักษณะฐานรากของอาคารส่วนต่อเติมแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ

-ต่อเติมโดยใช้ Micro Pile ที่มีความยาวเท่ากับความยาวเสาเข็มของอาคารบ้านเดิม

-ต่อเติมโดยใช้เสาเข็มสำเร็จรูป ความยาวประมาณ 6 เมตร (ยกเว้น เขตกรุงเทพฯ โซนใต้ เช่น ปากน้ำ พระประแดง แนะนำให้ใช้เข็มยาวเท่านั้น)


ขอบคุณข้อมูลจาก Sanook.com