หลังคารูปแบบต่างๆ
1.หลังคาแบน (FLAT SLAB)
มีลักษณะแบนราบคล้ายกับเป็นพื้นจึงมักถูกใช้เป็นพื้นดาดฟ้า
แต่เนื่องจากรับความร้อนมากและกันแดดกันฝนไม่ค่อยได้
จึงไม่ใคร่เหมาะกับบ้านเราสักเท่าไร
แต่ที่เห็นนำมาใช้กันได้ก็เห็นจะเป็นอาคารตึกแถวหรืออาคารพานิชย์สูงหลายชั้น
และอาคารที่ไม่เน้นความสวยงามของรูปทรงหลังคา
การก่อสร้างหลังคาประเภทนี้คล้ายๆกับการก่อสร้างพื้น
แต่มีข้อควรทำคือควรจะผสมน้ำยากันซึมหรือควรมีวัสดุกันซึมปูทับอีกชั้นหนึ่ง
ซึ่งทำให้บนพื้นที่หลังคาประเภทนี้ขึ้นไปใช้ประโยชน์ได้
2.หลังคาเพิงหมาแหงน
(LEAN TO)
เป็นหลังคาที่ยกให้อีกด้านสูงกว่าอีกด้านหนึ่ง
เพื่อให้สามารถระบายน้ำฝนได้ เหมาะสมสำหรับบ้านขนาดเล็ก เนื่องจากก่อสร้างง่าย
รวดเร็ว ราคาประหยัด แต่แฟนคนรักบ้านต้องระวังควรให้หลังคามีองศาความลาดเอียงมากพอ
ที่จะระบายน้ำฝนออกได้ทันไม่ไหลย้อนซึมกลับเข้ามาได้ โดยอาจพิจารณาร่วมกับปัจจัยอื่น
เช่น ความชันจากขนาดของหลังคา วัสดุมุงหลังคา และระยะซ้อนของหลังคา เป็นต้น
ในกรณีที่มีโอกาสหรือความเสี่ยงที่น้ำฝนจะไหลย้อนซึมเข้ามาได้
ก็ควรใช้ความลาดชันมากขึ้นตามลำดับ เพื่อให้สามารถระบายน้ำฝนได้รวดเร็วขึ้น
3.หลังคาแบบผีเสื้อ
(BUTTERFLY)
หลังคาชนิดนี้ประกอบด้วยหลังคาเพิงหมาแหงน 2
หลังหันด้านที่ต่ำกว่ามาชนกัน
ไม่ค่อยเหมาะกับสภาพภูมิอากาศที่ฝนตกชุกแบบเมืองไทยสักเท่าไร
เนื่องจากต้องมีรางน้ำที่รองรับน้ำฝนจากหลังคาทั้ง 2 ด้าน
ทำให้รางน้ำมีโอกาศรั่วซึมได้สูง จึงไม่เป็นที่นิยมสร้างกันมากนัก ยกเว้นอาคารที่ต้องการลักษณะเฉพาะพิเศษที่แปลกตาออกไป
4.หลังคาทรงหน้าจั่ว
(GABLE ROOF)
เป็นหลังคาที่เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศร้อนชื้นแบบเมืองไทยเรา
มีลักษณะเป็นหลังคาเพิงหมาแหงน 2 หลังมาชนกัน
มีสันสูงตรงกลาง เป็นหลังคาที่มีความสะดวกในการก่อสร้าง สามารถกันแดดกันฝนได้ดี และสามารถระบายความร้อนใต้หลังคาได้ดีอีกด้วย
5.หลังคาทรงปั้นหยา
(HIP ROOF)
เป็นหลังคาที่กันแดดกันฝนได้ดีทุกๆด้าน
มีความโอ่อ่าสง่างาม แต่หลังคาชนิดนี้มีราคาแพง
เนื่องจากเปลืองวัสดุมากกว่าหลังคาชนิดอื่นๆ
ตลอดจนต้องใช้ช่างที่มีฝีมือพอสมควรในการก่อสร้าง เพราะมีรายละเอียดเยอะกว่าหลังคาชนิดอื่นๆ
6.หลังคาแบบร่วมสมัย (MODERN & CONTEMPORARY)
6.หลังคาแบบร่วมสมัย (MODERN & CONTEMPORARY)
เป็นหลังคาที่มีรูปทรงทันสมัย
แตกต่างจาก 5 แบบข้างต้น และใช้วัสดุที่ทันสมัย
ก่อให้เกิดรูปทรงแปลกตา แต่ต้องระวังเรื่องความร้อนและการรั่วซึม