วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2558

รู้รอบการดูแลบ้าน รับหน้าฝน

           
                       ภาวะการณ์ของฝน น้ำท่วม ในบ้านเราไม่สามารถที่จะทำใจได้ว่าจะเกิดแบบไหน น้ำจะมาอย่างไร ฝนจะตกมากแค่ไหนไม่มีใครรู้แน่ชัด แต่เราจะต้องเตรียมตัวเพื่อป้องกันความรำคาญ ปัญหาที่เกิดขึ้นกันบ่อย ๆ ในจุดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อรองรับ ฝนมา น้ำจะได้ไม่ซึมเข้าบ้าน ให้เรามานั่งซึมกัน ดังนั้น เราต้องรู้ทันการแก้ปัญหา การใช้วัสดุต่าง ๆ เพื่อป้องกันไว้ก่อน การซ่อมแซม และการใช้วัสดุที่ถูกต้อง จะช่วยแก้ปัญหาในระยะยาวได้อย่างสบายใจ ซึ่งปัญหาเรื่องของผนัง ที่มีรอยแตกร้าว แตกลายงา ทำให้น้ำรั่วซึมเข้าบ้าน หรืออาจจะประสบปัญหาของดาดฟ้าของบ้าน ไม่ว่าจะเป็นอาคารพาณิชย์ ตึกแถวกี่ชั้นก็ตามที่มีดาดฟ้า ก็จะประสบปัญหาเรื่องของน้ำรั่วซึมจากดาดฟ้าลงมา ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาปกติที่จะเกิดขึ้น จะเห็นได้จากปัญหา ดังนี้

                       1.ปัญหาของผนังที่มีรอยแตกร้าว หรือ แตกลายงา



                จะเห็นได้ว่าปัญหาที่เกิดส่วนใหญ่ ได้แก่
                         - ปัญหาผนังด้านข้างแตกร้าว ทำให้น้ำซึมผ่านเข้าไปในตัวบ้านได้
                         - ปัญหาของดาดฟ้าที่มีรอยแตกร้าว ทำให้น้ำซึมลงไปชั้นล่าง
                         - ปัญหาของพื้นดาดฟ้ากับกำแพงบ้านที่มีรอยต่อแยกออกจากัน

                แนวทางในการแก้ไขปัญหา

                         - ตรวจสอบหาสาเหตุของปัญหาให้พบ เช่น ตรวจสอบหารอยแตกร้าว หรือ รอยแตกลายงาให้พบ
                         - ทำความสะอาดบริเวณที่มีรอยแตกร้าว หรือ รอยแตกลายงาให้สะอาด
                         - ใช้ผลิตภัณฑ์ประเภทอะครีลิกกันซึม หรือ ประเภทโพลียูรีเทน ทาบริเวณที่มีรอยแตกร้าว หรือ แตกลายงา ประมาณ 2 เที่ยว
                        - ในกรณีที่รอยแตกร้าวมีความกว้างมากกว่า 1 ซม. ให้ใช้ประเภทโพลียูรีเทน จะดีกว่าอะคริลิกกันซึม
                        -ในกรณีที่ใช้บริเวณดาดฟ้า เมื่อทาพื้นด้วยอะคริลิกกันซึมมาถึงของผนังหรือกำแพงแล้ว ให้ทาขึ้นบนผนังหรือกำแพงสูงประมาณ 5-10 ซม. เพื่อช่วยป้องกันน้ำซึมบริเวณมุมของดาดฟ้าและกำแพง สามารถทาสีทับได้เพื่อให้ได้พื้นผิวสีใกล้เคียงกับสีเดิม

                 ปัญหาน้ำรั่วซึมจากหลังคา


                   อีกปัญหาหนึ่งที่หลาย ๆ ท่านที่ใช้หลังคากระเบื้อง เมื่อมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ก็จะพบกับปัญหาได้เช่นกัน ได้แก่

                   1.กระเบื้องแตกเป็นสาเหตุให้น้ำรั่วซึมได้
                   2.น้ำรั่วบริเวณที่มีการใช้ตะปูยึดกระเบื้องกับโครงหลังคา ที่อาจจะเกิดจากลูกยางหมดอายุ
                   3.น้ำรั่วบริเวณของกระเบื้องที่ชนกับผนังของตึก
                   4.น้ำรั่วบริเวณที่ใช้ปูนทำเป็นสันครอบ ปูนปั้น

แนวทางในการแก้ไขปัญหา

                   1.ทำความสะอาดกระเบื้องหลังคาโดยเฉพาะคราบของตะไคร่น้ำบนหลังคา
                   2.ตรวจสอบหารอยรั่วให้พบและทำเครื่องหมายไว้
                   3.ใช้วัสดุประเภทอะคริลิกกันซึมทาบริเวณที่มีรอยแตก หรือ บริเวณหัวตะปู หรือ บริเวณปูนปั้นสันหลังคา
                   4.ทางด้วยอะคริลิก บริเวณที่มีโอกาสเกิดการรั่วซึม 2 เที่ยว กรณีส่วนที่กระเบื้องชนกับผนังให้ทาหนาเพิ่มขึ้นอีก 1 เที่ยว

ขอบคุณข้อมูลจากไทวัสดุ