วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

โครงการพัฒนาถนน 5 สายทางสู่ภูมิภาคต่างๆ

โครงการถนน 5 สายทาง                              

    1.สายตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สาย บางปะอิน-สระบุรี นครราชสีมา ระยะทางประมาณ  199 กิโลเมตร

    2.สายตะวันตก   ได้แก่ ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสาย บางใหญ่-บ้านโป่ง-กาญจนบุรี ระยะทาง  98 กิโลเมตร

    3.สายภาคตะวันออก ได้แก่  ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสาย ชลบุรี-พัทยา-มาบตาพุด ระยะทาง  89 กิโลเมตร      

    4.สายภาคใต้ ได้แก่  ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสาย นครปฐม-สมุทรสงคราม-ชะอำ ระยะทาง  134 กิโลเมตร

    5.สายภาคเหนือ ได้แก่  ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือสาย บางปะอิน-นครสวรรค์  ระยะทาง  180 กิโลเมตร


(ที่มา กรมทางหลวง)

 1.สายตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สาย บางปะอิน-สระบุรี นครราชสีมา ระยะทางประมาณ  199 กิโลเมตร

ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สาย บางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา ระยะทางประมาณ 199 กิโลเมตร โดยมีจุดเริ่มต้นที่อำเภอบางปะอินจังหวัดพระนครศรีอยุธยาบริเวณทางแยกต่างระดับที่เป็นจุดเริ่มต้นของถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันออก (ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 ด้านตะวันออก) มุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือและตัดกับทางหลวงหมายเลข 1 ที่บริเวณแนวทางเลี่ยงเมืองสระบุรี ด้านตะวันออกขนานไปทางด้านใต้ของทางหลวงหมายเลข 2 ตัดกับทางหลวงหมายเลข 2 ที่บริเวณอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา แล้ววางตัวทางด้านเหนือของทางหลวงหมายเลข 2 จนบรรจบกับแนวถนนวงแหวนรอบเมืองนครราชสีมาไปทับกับแนวถนนวงแหวนดังกล่าว เลี้ยวเข้า ตัวเมืองนครราชสีมาที่จุดตัดทางหลวงสายบ้านกุดม่วง - นครราชสีมา แล้วทับซ้อนไปกับแนวทางหลวงสายดังกล่าว สิ้นสุดที่จุดบรรจบทางเลี่ยง -เมืองนครราชสีมา

(ที่มา ประชาชาติ)

2.สายตะวันตก   ได้แก่ ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสาย บางใหญ่-บ้านโป่ง-กาญจนบุรี ระยะทาง  98 กิโลเมตร

ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สาย บางใหญ่ - บ้านโป่ง - กาญจนบุรี เป็นสายทางที่มีความสำคัญสูงในระบบโครงข่าย ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ซึ่งเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล กับพื้นที่ด้านตะวันตกของ ประเทศ วัตถุประสงค์หลักของโครงการ คือ การช่วยปรับปรุงระบบขนส่งระหว่างภาคกลางและภาคตะวันตกและจะ
เชื่อมกรุงเทพมหานครเข้ากับทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายอื่นที่จะไปทางด้านเหนือ ใต้และตะวันตก เพื่อรองรับการต่อเชื่อมโครงข่ายทางหลวงระหว่างประเทศที่จะต่อออกไปยัง สหภาพพม่า ซึ่งจะช่วยให้การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศไทยและสหภาพพม่าสะดวกรวดเร็วและประหยัดขึ้น รวมทั้งทำให้ประเทศไทยสามารถส่งสินค้าที่มีแหล่ง
ผลิตอยู่ในภาคตะวันตกออกทางทะเลได้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยใช้ท่าเรือน้ำลึกในสหภาพพม่า ทางหลวงพิเศษระหว่าง เมือง สายนี้คาดว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อระบบการขนส่งเป็นอย่างมาก ในการลดเวลาการเดินทางและลดค่าใช้จ่าย ของผู้ใช้เส้นทางในทิศทางนี้

      โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสาย บางใหญ่ - บ้านโป่ง - กาญจนบุรี แบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงแรก คือ

1.สายบางใหญ่ – บ้านโป่ง ซึ่งมีระยะทางประมาณ 51 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นจากทางหลวงวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครที่บางใหญ่ไปจนถึงทางแยกต่างระดับบ้านโป่ง โครงการนี้จะเชื่อมต่อกับทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายนครปฐม-ชะอำ โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายบางใหญ่ - บ้านโป่ง จะเริ่มต้นด้วยการก่อสร้างเป็นถนน6 ช่องจราจร และจะเพิ่มเป็น 8 ช่องจราจร ตามปริมาณความต้องการการจราจรที่เพิ่มขึ้น   

2.สาย บ้านโป่ง – กาญจนบุรี มีระยะทางประมาณ 47  กิโลเมตร   นับจากปลายของทางแยกต่างระดับที่บริเวณบ้านโป่ง ด้านที่ออกมาทางกาญจนบุรี ในระยะแรกควรสร้างเป็นทางหลวงพิเศษขนาด 4 ช่องจราจร โดยมีทางเข้าออก จากโครงการเป็นลักษณะทางแยกต่างระดับ 2 แห่ง คือทางหลวงหมายเลข 3081 และ 324 ต่อมาเมื่อมีปริมาณการจราจรเพิ่มมากขึ้น

(ที่มา กรมทางหลวง)


3.สายภาคตะวันออก ได้แก่  ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสาย ชลบุรี-พัทยา-มาบตาพุด ระยะทาง  89 กิโลเมตร 

ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง   สาย ชลบุรี - พัทยา - มาบตาพุด   เป็น เส้นทางคมนาคมทางบกที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับพื้นที่ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก   ซึ่งเป็นเป้าหมายการลงทุนที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ เส้นทางสายนี้นับเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่มีความจำเป็นทั้งในแง่การคมนาคมขนส่งสินค้าส่งเสริมการท่องเที่ยว และเกื้อหนุนต่อการพัฒนากิจการ อุตสาหกรรม  ทางช่วงชลบุรี - พัทยา   เป็นช่วงที่ต่อเนื่องกับทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง   สาย กรุงเทพฯ – ชลบุรี ปัจจุบันทางช่วง ชลบุรี - พัทยา  อยู่ระหว่างการก่อสร้างปรับปรุงเป็น 6-8 ช่องจราจร   รวมงานก่อสร้างทางแนวใหม่เข้า พัทยา ขนาด 4 ช่องจราจรช่วงชลบุรี - พัทยา  ระยะทาง 51 กิโลเมตรขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุงขยายจาก ช่องจราจร เป็น 6-8 ช่องจราจร และจะปรับปรุงเป็นทางควบคุมการเข้า-ออก (Fully Controlled Access) ในลักษณะทางหลวงพิเศษ ระหว่างเมือง   รวมทั้งก่อสร้างทางคู่ขนานทดแทนทางเดิม    เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้เป็นทางเลือกในการเดินทาง ช่วงพัทยา-มาบตาพุด เป็นเส้นทางแนวใหม่ ระยะทางประมาณ 38 กิโลเมตร  ก่อสร้างเป็นทางหลวงพิเศษแนวใหม่ ขนาด 4 ช่องจราจรบนพื้นดิน ที่ควบคุมทางเข้า - ออกสมบูรณ์แบบ โดยก่อสร้างทางลอดและทางข้ามตามความ เหมาะสมต่อเนื่องจากทางหลวงพิเศษ ช่วงชลบุรี-พัทยา   ที่กำลังดำเนินการ



                                                                                                                        (ที่มา ประชาชาติ)


4.สายภาคใต้ ได้แก่  ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสาย นครปฐม-สมุทรสงคราม-ชะอำ ระยะทาง  134 กิโลเมตร 

โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายนครปฐม-สมุทรสงคราม-ชะอำ เป็นทางเลือกในการแบ่งเบาความ แออัดของการจราจรบนทางหลวงหมายเลข 4 ซึ่งเป็นเส้นทางหลักเพียงสายเดียวในการเดินทางสู่ภาคใต้เป็นการก่อสร้างทางหลวงพิเศษแนวใหม่ขนาด 4 ช่องจราจรบนพื้นดิน ที่มีการควบคุมทางเข้า - ออก สมบูรณ์ แบบโดยการก่อสร้างทางลอดและทางข้ามตามความเหมาะสม แนวเส้นทางโครงการจะมีจุดเริ่มต้นเชื่อมต่อกับทางหวงพิเศษระหว่างเมืองสายบางใหญ่ - บ้านโป่ง ที่จังหวัดนครปฐม ซ่งจะลากผ่านจังหวัดราชบุรีสมุทรสงคราม และไปสิ้นสุดที่อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี โดยจะเชื่อมโยงกับโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายชะอำ - ชุมพร ระยะทางโดยรวมประมาณ 134 กิโลเมตร ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าจะต้องใช้งบ ประมาณในการลงทุนประมาณ 33,300 ล้านบาท

                                                                                                           (ที่มา กรมทางหลวง)

5.สายภาคเหนือ ได้แก่  ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือสาย บางปะอิน-นครสวรรค์  ระยะทาง  180 กิโลเมตร

ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สาย บางปะอิน –นครสวรรค์ ระยะทางประมาณ 180 กิโลเมตร เป็นการก่อสร้าง ทางหลวงพิเศษแนวใหม่ขนาด 6 ช่องจราจร บนพื้นดิน ที่มีการควบคุมทางเข้า-ออกสมบูรณ์แบบ โดยการก่อสร้างทาง ลอดและทางข้ามตามความเหมาะสม มูลค่าการลงทุนประมาณ 25,200 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ประมาณ 1,900 ล้านบาท มีจุดเริ่มต้นโครงการบริเวณทางแยกต่างระดับบางปะอิน(ทางหลวงหมายเลข 9 ด้านตะวันออก) มุ่งไปทางทิศเหนือ ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ลพบุรี ชัยนาท อุทัยธานี และสิ้นสุดโครงการที่อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ โดยแบ่งการก่อสร้างออกเป็น 3 ช่วง บางปะอิน–อ่างทอง (50 กม.) อ่างทอง–อินทร์บุรี (55 กม.) และ อินทร์บุรี - นครสวรรค์ (75 กม.) โดยแนวดังกล่าวเป็นแนวทางที่มีราคาค่าก่อสร้างและค่าชดเชยที่ดิน ต่ำสุด และจะ เกิดผลประโยชน์จาก ปริมาณจราจรที่คาดว่าจะมาใช้เส้นทางสูงที่สุด อีกทั้งยังมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

                                                                                                                                   (ที่มา กรมทางหลวง)

ขอบคุณข้อมูลดีๆจากกรมทางหลาวง
Credit กรมทางหลวง